Code สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556






ชื่อ : นางสาวนริศรา  แจ่มศรี
หมู่เรียน: 56/16 รหัสนักศึกษา 564145123
โปรแกรมวิชา: คอมพิวเตอร์ศึกษา  
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐ

Info Graphic Port I/O ( INPUT/OUTPUT )


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Infographic หน่วยความจำสำรอง


Infographic หน่วยความจำหลัก (กลุ่มตัวเอง)

Infographic ไมโครโปรเซสเซอร์

17.ชนิดหน่วยความจำสำรอง แบบต่างๆ

สรุป
 หน่วยความจำสำรอง สามารถแบ่งตามลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ชนิด คือ

1.หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง   คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ได้แก่ 1.1 แผ่นบันทึก   1.2 ฮาร์ดดิสก์   1. 3 เทปแม่เหล็ก  1. 4.แผ่นซีดี   1.5เมมโมรี่สติกค์   1.6 แฟลช ไดร์ฟ
2.หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยเรียงลำดับเท่านั้น เป็นหน่วยความจำสำรองประเภทที่เก็บตัวข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไป
เมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนใดนั้น หัวอ่านและบันทึกจะต้องทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก เรียงลำดับกันไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย


ที่มา http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/12.html

16.หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน  
 
สรุป หน่วยความจําสํารอง คือ หน่วยความจําที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป  สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์


15.Port HDMI

Port HDMI  เป็นระบบการเชื่อมต่อภาพและเสียง

14.Serial Port

พอร์ตอนุกรม (Serial Port)    เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน

พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร


13.VGA Port

วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้
1t-vga-cattx-rear.jpg




12.Port Fire Wire

FireWire เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า i-Link เป็นมาตราฐานการเชื่อมต่อที่แพร่หลายในคอมพิวเตอร์พีชี และแม็คอินทอช  จุดเด่นของ FireWire คือ เรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล


11.Port Digital Audio

                                                 เป็นพอร์ตที่ใช้ส่งสัญญานเสียง

10.Port Digital Video

Port Digital Video ใช้เชื่อมต่อแหล่งวิดีโอไปยังอุปกรณ์แสดงผล




9.Port Digital Camera

ช่องเสียบสาย ที่ใช้สำหรับถ่ายโอนข้อมูล


หมายเลข9-10 ช่องเสียบ สำหรับถ่ายโอนข้อมูล

8.Port Keyboard

        พอร์ตต่อคีย์บอร์ด เป็นคอนเน็กเตอร์ตัวเมียมี 6 รู ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ mini-DIN หรือ PS/2 connecter สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า พอร์ตคีย์บอร์ดจะมีขนาดใหญ่และมีเพียง 5 รู พอร์ตนี้เรียกว่า DIN



หมายเลข1  พอร์ตต่อคีย์บอร์ด



7.Port Mouse

เมาส์ในปัจจุบันจะมีขั่วต่อหลายแบบ  คือแบบพอร์ตอนุกรม  (Serial  Port)  ซึ่งเป็นมาตรฐานแรกเริ่มพอร์ต  PS/2  มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน  และพอร์ต  USB  มาตรฐานใหม่ทีมีอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ  

6.Port Scanner



Port Scanner ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์สแกนเนอร์ 



5.วิวัฒนาการ Port USB

พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว

คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่
สรุป พอร์ตยูเอสบี ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น 

4.Port Output

การกำหนดให้มีลักษณะเป็นพอร์ตเอาต์พุต เราสามารถจะส่งข้อมูลที่เป็นลอจิกที่ต้องการออกไปได้โดยตรง เช่นถ้าเราต้องการส่งข้อมูลที่เป็นสถานะลอจิก "0" ออกไปทางพอร์ต P1 ทั้ง 8 บิต ก็สามารถที่จะเขียนโดยใช้คำสั่ง MOV P1,#00H จะทำให้เอาต์พุตของวงจรแลตซ์เป็นสถานะลอจิก "0" ซึ่งจะส่งต่อไปให้กับวงจรกลับสัญญาณทำให้มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจึงส่งต่อไปขับเฟต(FET) ให้ทำงาน ส่งผลให้ตำแหน่งของพอร์ตที่กำหนดให้ทำงานจะเป็นสถานะลอจิก "0" ในทำนองเดียวกันถ้าหากเราต้องการจะส่งข้อมูลลอจิก "1" ออกไป ก็สามารถเขียนข้อมูล "1" ไปยังวงจรแลตซ์ วงจรขับก็จะหยุดการทำงานเป็นผลทำให้ที่ขาของพอร์ตเชื่อมต่อกับวงจรพูลอัปภายในเกิดเป็นสถานะลอจิก "1" ที่ขาพอร์ตนั้น ซึ่งจะคล้ายกับการกำหนดให้เป็นขาอินพุต เพียงแต่แตกต่างกันที่กระบวนการในการเคลื่อนย้ายข้อมูล โดยถ้าเป็นอินพุต จะมีสัญญาณมาอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์ แต่ถ้าเป็นเอาต์พุตจะไม่มีการอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์แต่อย่างใด เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งออกมาทางเอาต์พุตเท่านั้น
สรุป  เป็นช่องสำหรับถ่ายข้อมูลออกไปยังเครื่องแสดงผลลัพธ์

3.Port Input

การกำหนดให้พอร์ตหรือบิตใดๆ ของไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นพอร์ตอินพุต หรือส่วนในการรับค่าของข้อมูลเข้ามา  จะเริ่มต้นด้วยการเขียนข้อมูลให้กับพอร์ตหรือบิตนั้นๆ เป็นสถานะลอจิก "1" แล้วจึงส่งไปแต่ละบิตของพอร์ตที่ต้องการใช้งาน เพื่อให้เป็นพอร์ตอินพุต เช่นใช้คำสั่ง MOV P3, #0FFH หรือคำสั่ง SETB P1.5 จะทำให้วงจรส่วนของการคงสภาวะข้อมูล หรือวงจรแลตซ์(Latch)* ซึ่งสร้างมาจากวงจร ดี ฟลิป-ฟลอป (D flip-flop) จะให้เอาต์พุต Q มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจะผ่านไปที่วงจรกลับสัญญาณ (Inverter) เพื่อให้หยุดการทำงานของเฟต (FET)* ซึ่งจะทำให้ขาสัญญาณของพอร์ตถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรพูลอัป * ที่เป็นตัวต้านทานภายใน (Internal Pull up) โดยตรง ส่งผลให้ขาพอร์ตนั้นมีสถานะลอจิกเป็น "1" และสามารถจะรับสัญญาณที่เป็นลอจิก "0" จากอุปกรณ์ภายนอกได้ ข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกที่ต่ออยู่ก็จะถูกส่งเข้ามาเก็บไว้ในวงจรบัฟเฟอร์ภายในพอร์ต เพื่อรอให้ซีพียูมาทำการอ่านค่าเข้าไป ดังนั้นอุปกรณ์ภายนอกที่เราจะนำมาเชื่อมต่อกับพอร์ตอินพุต จึงนิยมกำหนดให้ทำงานในสภาวะลอจิก "0"
แสดงการกำหนดเป็นพอร์ตอินพุตโดยให้สถานะเป็น "1" ตำแหน่งบิตที่ต้องการ

สรุป   เป็นช่องสำหรับรับข้อมูลเพื่อนำข้อมูลเข้าไปยังเครื่องนำข้อมูลเข้า

2.Control Port

   Control port หรือ สายสัญญาณควบคุม  แบ่งเป็นได้ทั้ง Input และ Output การใช้งาน Port นี้ต้องมีการกำหนด Address ของ Port ให้ชัดเจนว่าต้องการติดต่อผ่าน Address ไหน ถ้ากำหนดแอดเดรสผิด Program ก็จะไม่ทำงาน
ที่มา : www.tatc.ac.th/files/09011219194805_1205180990152.pdf‎ )

1.โครงสร้าง Port

การที่จะให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่นการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก (INPUT)หรือการส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ภายนอก (OUTPUT) ก็จะต้องติดต่อผ่านพอร์ต (PORT) หรืออาจกล่าวได้ว่าพอร์ตคือช่องทางสำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอกนั้นเอง

แสดงโครงสร้างภายในของพอร์ต
สรุป
พอร์ตคือช่องทางสำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอก

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

14. (disk drive)

ดิสก์ไดร์ฟ, disk drive

    


    ดิสก์ไดร์ฟ, ช่องใส่ดิสก์, อุปกรณ์จัดเก็บที่ใช้อ่านและเขียนดิสก์ทั้งแบบแม่เหล็กและออปติคอล เมื่อมีช่องใส่ดิสก์ในคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 ช่อง ระบบปฏิบัติการจะกำหนดชื่อให้แต่ละช่องไม่ซ้ำกัน เช่น A: และ C: ในดอส วินโดวส์ และโอเอส/ทู ช่องใส่ดิสก์ 3 แบบที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ช่องใส่ Floppy Disk ช่องใส่ฮาร์ดดิสก์ และช่องใส่คอมแพคดิสก์ ช่องใส่ Floppy Disk นั้นใช้ได้กับดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว หรือ 3.5 นิ้ว ช่องใส่ฮาร์ดดิสก์มักจะมีความจุมากกว่า และทำงานได้เร็วกว่าช่องใส่ Floppy Disk รวมทั้งอยู่ภายในกล่องที่ปิดสนิทกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไป ช่องใส่คอมแพคดิสก์เป็นได้ทั้งแบบภายนอกและภายในตัวระบบ และให้ใส่แผ่นคอมแพคดิสก์เข้าไปในแคดดี้พิเศษ เครื่องพีซีในปัจจุบันจะมีช่องใส่คอมแพคดิสก์หรือไดร์ฟซีดีนี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานไปแล้ว

13. (Optical Disk)

ออปติคัลดิสก์  Optical Disk

 มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงนักในปัจจุบันจะมีออปติคอลอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป คือ ซีดีรอม (CD-ROM หรือ Computer Disk Read Only Memory) 


12. (Hard Disk)

Hard Disk



Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ 
 Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk

11. รอม (Rom) (READ-ONLY MEMORY)

รอม (Rom) (READ-ONLY MEMORY)

    

    รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ว

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1

10. แรม (Ram) (Random Access Memory) และประเภทของ RAM

แรม (Ram) (Random Access Memory) และประเภทของ RAM


แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม [1] (อังกฤษrandom access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว)

ประเภทของแรม

  • SRAM (Static RAM)
  • NV-RAM (Non-volatile RAM)
  • DRAM (Dynamic RAM)
  • Dual-ported RAM
  • Video RAM
  • WRAM
  • FeRAM
  • MRAM                                                                                                                                                 ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1

9. หน่วยความจำแคช (Cache)

หน่วยความจำแคช (Cache)

  แคช (CACHE) คือ หน่วยความจำภายในชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก  และมีความเร็วสูง  จากโครงสร้างหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการจัดโครงสร้างเป็นแบบลำดับชั้น  หน่วยความจำแคช (CACHE) เป็นลำดับชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากลำดับชั้นสูงสุด  ซึ่งแคชหากมีหลายระดับ เรียกว่าแคช ระดับ L1,L2,…
  แคช มักถูกเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยความจำหลักซึ่งมักถูกซ่อนเอาไว้จากผู้เขียนโปรแกรม  หรือแม้กระทั่งตัวโปรเซสเซอร์เอง  คือจะทำงานอัตโนมัติ  สั่งการให้ทำงานตามที่ต้องการโดยตรงไม่ได้  จึงเปรียบเสมือนบัฟเฟอร์เล็กๆ ระหว่างหน่วยความจำหลักกับรีจิสเตอร์ในโปรเซสเซอร์

แสดงถึงสถาปัตยกรรมหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำแคชสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยความจำหลักโดยตรง  ในเวลาเดียวกันก็ต้องการให้มีขนาดใหญ่ที่สุดในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป   โดยปกติหน่วยความจำแคช จะเก็บสำเนาของข้อมูลบางส่วนในหน่วยความจำหลักเอาไว้  เมื่อโปรเซสเซอร์ต้องการอ่านข้อมูลจำนวนหนึ่ง word ในหน่วยความจำ  ข้อมูลส่วนนั้นจะถูกตรวจสอบว่ามีอยู่ในแคชหรือไม่ ถ้ามีจะนำข้อมูลในแคชไปใช้  ถ้าไม่มีอยู่  ก็จะเกิดการคัดลอกสำเนาข้อมูลหนึ่งบล็อกจากหน่วยความจำหลักมายังแคช แล้วจึงนำ word ที่ต้องการส่งต่อไปให้โปรเซสเซอร์ในภายหลัง  เนื่องจากปรากฏการณ์การอ้างอิงในพื้นที่เดียวกัน (locality of reference) จะทำให้การอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำครั้งต่อๆไปเป็นการอ้างอิงที่เดิมหรือตำแหน่งใกล้เคียงจุดเดิม  ดังนั้นการคัดลอกข้อมูลหนึ่งบล็อกจากหน่วยความจำหลักมายังแคช จะสามารถถูกนำมาใช้งานได้ในระยะหนึ่ง  ก่อนที่จะมีการคัดลอกข้อมูลในครั้งต่อไป

แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ Cache

8. หน่วยความจำหลัก



หน่วยความจำหลัก


 คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว
     

ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/storage.htm

7.การออกแบบ Microprocessor 64 bit ใน PC



7.การออกแบบ Microprocessor 64 bit ใน PC


Power4 Chip เป็น ซีพียู 64 บิต ใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบ RISC( Reduced Instruction- Set Computing หรือชิปที่มีการลดทอนคำสั่ง ) ที่สามารถประมวลผลคำสั่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา เป็น CPU แบบ Multi-core มีหน่วยประมวลผล 2 หน่วย ที่อยู่ใน Chip ตัวเดียวมีชุดคำสั่งพิเศษ (ISA) เป็นคำสั่งพิเศษที่ทำให้แพลตฟอร์มมีความสามารถในการประมวล ผลแบบ 64 บิตใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร AIM (Apple-IBM-Motorola) ทำให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการได้เร็วมากขึ้น เพราะกำหนดให้ตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocessor) แต่ละตัวทำงานจำกัดเฉพาะบางอย่าง ซึ่ง Power 4Chip เป็นพื้นฐานของการพัฒนา PowerPC

ที่มา : ced.kmutnb.ac.th/wws/document/history_of%20_cpu.doc

6.Microcontroller คืออะไร

Microcontroller คืออะไร

วงจรรวมของอินเทล 8742 ไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 8 บิตในซีพียู ความเร็ว 12 MHz
แรมขนาด 128 ไบต์, 
EPROM ขนาด 2048 ไบต์ และ I/O ในชิปเดียวกัน

ไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ MCU คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุความสามารถที่คล้ายคลึงกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยในไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวมเอาซีพียูหน่วยความจำ และพอร์ต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในตัวถังเดียวกัน

5.ประวัติ Intel/AMD/Apple A4

ประวัติ Intel/AMD/Apple A4

Intel

หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋าเราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการตั้งแต่ ปี 1971 จนถึงปัจจุบันกัน
1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ
1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง
1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว
1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว
          รุ่นแรกๆ ทาง  Intel  ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตามหลังIntelมาเรื่อยๆ  ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ
1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium
1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station โดยต่อมาได้ผลิตเทคโนโลยี
          MMX และทำเป็น Intel  MMX
1997 : Pentium II Processor รวมเ Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บน
          package เดียวกับ CPU กับ Technology MMX ไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน
1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก เพื่อลด
          ต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก แต่ถึงแม้ Celeron ที่ออกมา
          นั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือ
          พอพอกับ Pentium MMX
1999 : Pentium III Processor เพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆไปใหม่ ในลักษณะของ MMX 
1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
2001 : Pentium 4 Processor    มีเทคโนโลยี HT ทำให้การใช้งานทีละหลายโปรแกรมได้ดีขึ้น
2003 : Pentium M ส่วนใหญ่ใช้ใน mobile technology  เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย
2005 : Pentium D มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multi-core เพิ่มเข้ามาโดยมี2 coreแต่ละ core จะเป็นอิสระ
          ต่อกัน
2006 : Intel Core duo นี่แหละครับพระเอกของเรา   ต่างกับ Pentium D ตรงที่มีการแชร์ 2 core ด้วยกัน
          (dual core)
2006 : Intel Core 2 Duo  รองรับชุดคำสั่ง 64 bit และยังประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย
2006 : Intel Core 2 Extreme QX6700   คือ มี 4 core
2006 : Yorkfield   คือ 8 core


AMD


     แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์, Inc. หรือ เอเอ็มดี เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1969 โดยพนักงานเก่าจากบริษัท Fairchild Semiconductor โดย เอเอ็มดี ผลิตสินค้าเกี่ยวกับ เซมิคอนดัคเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเป็นผู้พัฒนา ซีพียู และเทคโนโลยีต่างๆ ออกสู่ตลาด และ ผู้ใช่ทั่วไป.โดยที่สินค้าหลักของบริษัทคือ ไมโครโพรเซสเซอร์,เมนบอร์ดชิปเซ็ต,การ์ดแสดงผล,ระบบฟังตัว สำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์,คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ ระบบฝังตัวต่าง โดยที่ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีที่เป็นที่รู้จักได้แก่ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล APU,Phenom II,Athlon IISempron, บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล APU Mobile,DuronTurion,ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา Opteron, สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และชิปกราฟิก Readeon
    เอเอ็มดี เป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ในตลาดของไมโครโพรเซสเซอร์ ที่มีพื้นฐานอยู่บน x86 อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปกราฟิกการ์ดรายใหญ่ของโลก และ ยังผลิตหน่วยความจำแบบแฟลช โดยในปี 2010 AMD เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ อันดับที่ 12 ของโลก
 เอเอ็มดีนับเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอินเทลในตลาดไมโครโพรเซสเซอร์ และมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ในหลายประเทศ เรื่องอินเทลผูกขาดการค้า ปัจจุบันได้ทำการยอมความกันไปแล้ว

ที่มา:http://108like.com/computer/AMD_CPU.html                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          Apple A4  


  การเปิดตัวชิปตัวแรกของ Apple แสดงให้เห็นก้าวแรกของ Apple  ที่จะลงมาเล่นในวงการ Processor ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีคนจับตาว่า Apple จะใช้ CPU ของเจ้าไหนให้กับ iPad จะเป็นของ Intel หรือไม่  และที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือ CPU ของ Apple จะสู้ Cortex ของ ARM หรือ Snapdragon ของ Qualcomm ได้หรือไม่ 
              A4 ทำงานที่ความถี่ 1 GHz ซึ่งเป็นความเร็วที่เท่ากับมาตรฐานความเร็วCPU ของ smart phone ในปีนี้ ซึ่งถือว่าเร็วมากทีเดียว ในขณะที่ Snapdragon 1GHz ของ Qualcomm อยู่ใน smart phone Nexus One ของ Google หากใช้ CPU A4 ที่สามารถตอบสนองการทำงานที่หลากหลายของiPadได้ คงทำให้ Nexus One กลายเป็น superphone ได้จริงๆ น่าเสียดายที่ Google กับ Apple ไม่ได้เป็น partner กันแล้ว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ A4 อีกประการหนึ่งที่ควรทราบก็คือ ที่ spec และความถี่ของการทำงานดังกล่าว Apple A4 สามารถเล่นHD VDO ได้นานถึง 10 ชั่วโมง ซึ่งหากใช้ Processor อื่นยังไม่แน่เหมือนกันว่าจะใช้ได้นานเท่ากันหรือไม่
  สตีฟ จ็อบส์ CEO Apple ได้เปิดตัว iPad โดยหวังว่าจะพลิกกระแสให้แท็บเล็ตตัวนี้เป็นที่แพร่หลาย ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป โดยออกแบบให้เบากว่า บางกว่า หน้าจอที่อ่านง่าย แล้วเป็นมัลติทัช ที่สามารถใช้นิ้วในการป้อนข้อมูลที่หน้าจอได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น